กรมสรรพากรได้วางแนวทางปฏิบัติเกี่ยวกับทรัพย์สิน หรือหนี้สินซึ่งมีค่าหรือราคาเป็นเงินตราต่างประเทศที่เหลืออยู่ในวันสุดท้ายของรอบระยะเวลาบัญชี ซึ่งบริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคลต้องคำนวณค่าหรือราคาเป็นเงินตราไทย ตามคำสั่งกรมสรรพากรที่ ป. 132/2548 ลงวันที่28 กันยายน พ.ศ. 2548 ดังนี้

กรณีบริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติ บุคคลนอกจากธนาคารพาณิชย์หรือสถาบันการเงินอื่นตามที่รัฐมนตรีกำหนดให้คำนวณค่าหรือราคาของเงินตราหรือทรัพย์สินเป็นเงินตราไทยตามอัตราถัวเฉลี่ยที่ธนาคารพาณิชย์รับซื้อซึ่งธนาคารแห่งประเทศไทยได้คำนวณไว้ และให้คำนวณค่าหรือราคาของหนี้สินเป็นเงินตราไทยตามอัตราถัวเฉลี่ยที่ธนาคารพาณิชย์ขาย ซึ่งธนาคารแห่งประเทศไทยได้คำนวณไว้ ทั้งนี้ ตามมาตรา 65 ทวิ (5) (ก) แห่งประมวลรัษฎากร เว้นแต่ตราสารทุนซึ่งเป็นเงินลงทุนระยะยาวที่เป็นสกุลเงินตราต่างประเทศเพื่อหวังเงินปันผลในบริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคลที่ตั้งขึ้นตามกฎหมายของต่างประเทศคำพูดจาก สล็อตเว็บตรง

ดังนั้น กรณีบริษัทฯ มีเงินลงทุนในตราสารทุนในต่างประเทศ ซึ่งมีค่าหรือราคาเป็นเงินตราต่างประเทศที่เหลืออยู่ในวันสุดท้ายของรอบระยะเวลาบัญชี

1คำพูดจาก สล็อตเว็บตรง. หากตราสารทุนในต่างประเทศดังกล่าวเป็นหลักทรัพย์ในความต้องการของตลาด (Marketable Securities) ซึ่งมีวัตถุประสงค์ที่จะเปลี่ยนเป็นเงินสดทันทีที่ต้องการ ให้บริษัทฯ คำนวณค่าของเงินลงทุนดังกล่าวตามหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขตามมาตรา 65 ทวิ (5) วรรคแรก (ก) แห่งประมวลรัษฎากร และรับรู้กำไรหรือขาดทุนจากอัตราแลกเปลี่ยน เป็นรายได้หรือรายจ่ายแล้วแต่กรณีในแบบ ภ.ง.ด.50

2. แต่สำหรับตราสารทุน ซึ่งเป็นเงินลงทุนระยะยาวที่เป็นสกุลเงินตราต่างประเทศเพื่อหวังเงินปันผลในบริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคลที่ตั้งขึ้นตามกฎหมายของต่างประเทศ บริษัทฯ ไม่ต้องคำนวณค่าตามอัตราแลกเปลี่ยน ณ วันสิ้นรอบระยะเวลาบัญชี แต่อย่างใด โดยให้ใช้ตามราคาทุนเดิม (Historical Cost) ณ วันที่ได้มาซึ่งตราสารทุนนั้น.

By admin