ในปี 1972 ภารกิจอะพอลโล 17 ของสหรัฐฯ ถือเป็นครั้งสุดท้ายที่มนุษย์ได้ไปเหยียบดวงจันทร์ แต่ 2 นักบินอวกาศ แฮร์ริสัน ชมิตต์ และยูจีน เซอร์แนน ไม่ได้แค่ลงไปเดินเฉย ๆ พวกเขาได้เก็บตัวอย่างดินและหินรวมประมาณ 110.4 กิโลกรัม และนำกลับมายังโลกเพื่อการศึกษาต่อไป
ครึ่งศตวรรษต่อมา ผลึกของแร่เพทาย (Zircon) ภายในเศษหินอัคนีเนื้อหยาบที่เรียกว่า “โนไรต์” (Norite) ซึ่งชมิตต์รวบรวมมา ทำให้นักวิทยาศาสตร์มีความเข้าใจที่ลึกซึ้งยิ่งขึ้นเกี่ยวกับการก่อกำเนิดและอายุของดวงจันทร์
ตรวจพบคลื่นวิทยุจากอวกาศ ที่ใช้เวลา 8 พันล้านปีกว่าจะมาถึงโลก!
“เจมส์ เว็บบ์” พบ “นาโนควอตซ์” ในชั้นบรรยากาศดาวเคราะห์นอกระบบสุริยะ
เจมส์ เว็บบ์ ตรวจพบ “คาร์บอน” บนดวงจันทร์ “ยูโรปา” ของดาวพฤหัสบดี
หนึ่งในข้อค้นพบสำคัญจากการวิเคราะห์ผลึกดังกล่าวคือ นักวิทยาศาสตร์พบว่า ความจริงแล้ว ดวงจันทร์มีอายุมากกว่าที่เคยคิดไว้ถึงประมาณ 40 ล้านปี โดยก่อตัวเมื่อ 4.46 พันล้านปีก่อน ภายใน 110 ล้านปีหลังการกำเนิดของระบบสุริยะ
ทฤษฎีการก่อตัวของดวงจันทร์คือ ในช่วงประวัติศาสตร์ยุคแรก ๆ ของระบบสุริยะที่วุ่นวาย วัตถุขนาดเท่าดาวอังคารที่เรียกว่า “ธีอา” (Theia) ได้กระแทกเข้ากับโลกยุคดึกดำบรรพ์ หินหลอมเหลวที่ระเบิดออกสู่อวกาศ ก่อตัวเป็นจานเศษซาก (Debris Disk) ที่โคจรรอบโลกและก่อตัวเป็นดวงจันทร์ แต่ระยะเวลาที่แน่นอนของการก่อตัวของดวงจันทร์นั้นยากที่จะระบุได้
ผลึกแร่สามารถก่อตัวได้หลังจากที่แม็กมาเย็นลงและแข็งตัวแล้ว นักวิจัยใช้วิธีการที่เรียกว่า Atom Probe Tomography (APT) เพื่อยืนยันอายุของผลึกเพทายภายในชิ้นส่วนของหินโนไรต์ ซึ่งถือเป็นของแข็งจากดวงจันทร์ที่มีอายุเก่าแก่ที่สุด ณ ตอนนี้
การศึกษาเรื่องอายุของดวงจันทร์นี้ ความจริงได้รับการตีพิมพ์ตั้งแต่ปี 2021 ใช้เทคนิคที่เรียกว่า การวิเคราะห์ไมโครโพรบไอออน เพื่อวัดจำนวนอะตอมของยูเรเนียมและตะกั่วที่อยู่ในผลึก โดยคำนวณอายุของเพทายตามการสลายตัวของยูเรเนียม และได้ตัวเลขออกมาว่า มีความเก่าแก่กว่าอายุเดิมของดวงจันทร์ที่เคยประเมินไว้ที่ 4.42 พันล้านปี โดยเก่าแก่กว่าถึง 40 ล้านปี ทำให้เป็นข้อสรุปออกมาว่า ดวงจันทร์มีอายุอย่างน้อย 4.46 พันล้านปีคำพูดจาก สล็อตเว็บตรง
อย่างไรก็ตาม อายุดังกล่าวจำเป็นต้องได้รับการยืนยันด้วยวิธีอื่นซ้ำ เนื่องจากอาจเกิดภาวะแทรกซ้อนที่เกี่ยวข้องกับอะตอมของตะกั่วได้ หากมีข้อบกพร่องในโครงสร้างผลึกเพทาย ซึ่งจะทำให้ผลการตรวจสอบอายุคลาดเคลื่อน
การศึกษาครั้งใหม่นี้จึงใช้การตรวจเอ็กซเรย์อะตอมเพื่อตรวจสอบว่าไม่มีภาวะแทรกซ้อนเกี่ยวกับอะตอมของตะกั่ว
การตรวจเอ็กซเรย์อะตอมคือการใช้เลเซอร์ในการระเหยอะตอมออกจากคริสตัลเพทาย จากนั้นจะสามารถตรวจจับมวลของอะตอมเหล่านี้ได้ และสามารถวัดสัดส่วนของยูเรเนียมและอะตอมตะกั่วประเภทต่าง ๆ หรือที่เรียกว่าไอโซโทปได้ เนื่องจากยูเรเนียมจะกลายเป็นตะกั่วเมื่อเวลาผ่านไปจากการสลายตัวของสารกัมมันตภาพรังสี สัดส่วนนี้จึงสามารถให้ความกระจ่างได้ว่า ผลึกเพทายมีอายุเท่าใด
และการศึกษายังไม่พบว่าไม่มีภาวะแทรกซ้อนเกี่ยวกับอะตอม จึงเป็นการยืนยันอายุของผลึกเพทายไปโดยปริยาย
ฟิลิปป์ เฮค นักเคมีจักรวาลวิทยา ผู้อำนวยการอาวุโสฝ่ายวิจัยของพิพิธภัณฑ์ฟิลด์ในชิคาโก ศาสตราจารย์จากมหาวิทยาลัยชิคาโก หนึ่งในทีมวิจัย กล่าวว่า “ผมชอบความจริงที่ว่า การศึกษานี้ดำเนินการกับตัวอย่างที่ถูกรวบรวมและนำมายังโลกเมื่อ 51 ปีที่แล้ว ในเวลานั้น เทคโนโลยีการตรวจเอ็กซเรย์อะตอมยังไม่ได้รับการพัฒนา และนักวิทยาศาสตร์คงไม่อาจจินตนาการถึงเทคโนโลยีการวิเคราะห์ที่เราทำในปัจจุบันนี้”
ด้าน จาง ปี้ตง นักวิทยาศาสตร์ดาวเคราะห์จากมหาวิทยาลัยแคลิฟอร์เนีย ลอส แอนเจลิส อีกหนึ่งในทีมวิจัย บอกว่า “น่าสนใจมาก แร่ธาตุที่เก่าแก่ที่สุดทั้งหมดที่พบในโลก ดาวอังคาร และดวงจันทร์ ล้วนเป็นผลึกเพทาย”
หินโนไรต์ที่บรรจุเพทายถูกเก็บรวบรวมจากพื้นที่ที่เรียกว่าหุบเขาทอรัส-ลิตโทรว์ (Taurus-Littrow) ที่ขอบตะวันออกเฉียงใต้ของ Lunar Mare Serenitatis และเก็บไว้ที่ศูนย์อวกาศจอห์นสันของนาซาในฮูสตัน
เฮคกล่าวว่า “เพทายมีความแข็งและทนทานมาก และรอดจากการพังทลายของหินในระหว่างการผุกร่อนได้”
ขณะที่ ดร.เจนนิกา เกรียร์ จากมหาวิทยาลัยกลาสโกว์ หนึ่งในทีมวิจัย บอกว่า “เป็นเรื่องน่าทึ่งที่สามารถพิสูจน์ได้ว่า หินที่คุณถืออยู่นั้นเป็นส่วนที่เก่าแก่ที่สุดของดวงจันทร์ที่เราเคยพบ … เมื่อคุณรู้ว่าบางสิ่งมีอายุเท่าไหร่ คุณก็จะเข้าใจได้ดีขึ้นว่าเกิดอะไรขึ้นบ้างกับสิ่งนั้นในประวัติศาสตร์ของมัน”
เรียบเรียงจาก Reuters / The Guardian
ภาพจาก ARIS MESSINIS / AFP
ครม.เคาะ วันหยุดปีใหม่ ตั้งแต่ 29 ธ.ค.66-1 ม.ค. 67
แพร่ประกาศ "โรคต้องห้าม" เป็นข้าราชการสำนักงาน ป.ป.ช.
แรงไม่หยุดฉุดไม่อยู่ “สัปเหร่อ” โกยรายได้ทะลวง 500 ล้านบาท ในเวลา 2 สัปดาห์